เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
สมุนไพรในท้องถิ่นหลายชนิดสามารถใช้กําจัดแมลงศัตรูพืชในการทําเกษตรอินทรีย์ได้ เช่น หางไหลขาว หางไหลแดง ยาสูบ สาบเสือ ตะไคร้หอม เป็นต้น ส่วนสมุนไพรที่มีประสิทธิภาพป้องกันกําจัดหนอนชนิดต่างๆ ได้แก่ สะเดา หางไหลขาว หางไหลแดง หนอนตายอยาก เป็นต้น การพัฒนาวิธีการสกัดสมุนไพรที่เหมาะสมและทดสอบการใช้งานร่วมกับน้ําส้มควันไม้ จะทําให้เกิดการสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีความแตกต่าง ด้วยราคาและประโยชน์ที่เหมาะสม อันจะทําให้สามารถส่งเสริมการสร้างผลิตภัณฑ์ของชุมชน ทําให้เอื้อประโยชน์แก่การทําเกษตรอินทรีย์ในการกําจัดแมลงศัตรูพืชแทนสารเคมีได้
ในการสกัดใช้วิธีการสกัดสมุนไพรโดยใช้ตัวทําละลายเอทธานอล ทําการออกแบบติดตั้งชุดทําระเหยต้นแบบที่ใช้สุญญากาศในการลดอุณหภูมิทําระเหยเอทธานอล ซึ่งจะสามารถทําระเหยได้ที่ 40-50 C เพื่อให้สามารถนําตัวทําละลายกลับมาใช้ใหม่ในการสกัดสมุนไพรได้ ดําเนินการออกแบบ เพื่อให้เหมาะกับการสกัดในระดับชุมชน สําหรับผลิตสมุนไพรสกัดตามความต้องการของชุมชน ใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีกระบวนการ 2 ส่วน ดังนี้
1. กระบวนการสกัด (Extraction) ประกอบด้วยถังกวนผสมตัวทําละลายกับวัสดุสกัดขนาด 100 ลิตร พร้อมแยกสารละลายกับตะกอนสมุนไพร โดยในกระบวนการนี้จะได้สารละลายที่มีลักษณะใสเก็บไว้ในถังเก็บสารเพื่อเข้าสู่ระบบการระเหยตัวทําละลายต่อไป
2. กระบวนการระเหยตัวทําละลาย (Evaporation) ขั้นตอนของการระเหยตัวทําละลายออกจากสารละลายที่มีสารสกัดปนอยู่ อุปกรณ์ที่ใช้ในการระเหย คือ เครื่องทําระเหยแบบสุญญากาศ (vacuum evaporator) ที่สามารถปรับค่าอุณหภูมิและความดันได้ ผลผลิตที่ได้จากการระเหยจะเป็น 2 ส่วน คือ ตัวทําละลายและสารสกัด การใช้ความดันต่ํากว่าความดันบรรยากาศจะทําให้อุณหภูมิจุดเดือดของตัวทําละลายลดลง ส่งผลให้ความร้อนในการระเหยตัวทําละลายไม่ทําลายสารสําคัญที่อยู่ในสารสกัด ทั้งนี้เมื่อแยกตัวทําลายลายออกมาแล้ว สามารถนํากลับมาใช้ใหม่ได้ ซึ่งทําการวัดความหนาแน่นตัวทําละลายที่ควบแน่นกลับมาได้เทียบกับตัวทําละลายบริสุทธิ์ แล้วเพิ่มความเข้มข้นและปริมาตรให้เท่ากับค่าตั้งต้นเพื่อทําการใช้ซ้ําอีกครั้ง
โครงการ หมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี: หมู่บ้านม่วงใหญ่ควันไม้เทค
หมู่บ้านม่วงใหญ่ควันไม้เทค บ้านม่วงใหญ่ ต.กําแพงเพชร อ.รัตภูมิ จ.สงขลา