เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
ปัจจุบันความต้องการผลิตภัณฑ์สุขภาพและความปลอดภัยทางด้านอาหารที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เชื้อรา Monascus sp. ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในการนำมาใช้เป็นทั้งสีผสมอาหารหรือสารเติมแต่งในอาหารที่ให้ผลดีต่อสุขภาพ ซึ่งผลิตภัณฑ์เมแทบอไลต์ลำดับที่สองของเชื้อราโมแนสคัส นั่นคือ สารสีเหลืองที่ประกอบด้วยสารโมแนสซิน (monascin) และสารอังคฟลาวิน (ankaflavin) เป็นสารสดคลอเลสเตอรอล งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมของการหมักเปลือกกล้วยหินเพื่อผลิตสารสีเหลืองโดยใช้เชื้อรา Monascus sp. YRU01 และศึกษาความเป็นไปได้ของเปลือกกล้วยหินหมักเพื่อเป็นวัสดุองค์ประกอบในอาหารสัตว์ จากการศึกษาพบว่าเชื้อราสามารถเจริญและผลิตสารสีเหลืองได้สูงสุดเท่ากับ 25.50±2.36 OD unit/gds ภายใต้สภาวะที่เหมาะสมของการผลิตสารสี คือปริมาณความชื้นเริ่มต้นร้อยละ 40 ค่าพีเอชเริ่มต้นเท่ากับ 6.0 และบนเปลือกกล้วยหินที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ นอกจากนี้พบว่าเปลือกล้วยหินหมักประกอบด้วยคาร์โบไฮเดตรตร้อยละ 58.72±0.31 และโปรตีนร้อยละ 11.88±0.08 รวมทั้งมีองค์ประกอบของแร่ธาตุและกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อการเจริญของสัตว์ ทำให้เปลือกล้วยหินหมักมีศักยภาพในการเป็นวัสดุผสมในอาหารสัตว์
