เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
ชื่อ
การออกแบบและสร้างเครื่องขัดเมือกกาแฟต้นแบบ
ชม 3,444 ครั้ง
62
เจ้าของ
นายแมน ตุ้ยแพร่
เมล์
tmanman@hotmail.com
รายละเอียด
การขัดเมือกกาแฟด้วยการขัดสีหรือถูกันของเม็ดกาแฟเองระหว่างเพลาขัดเมือกกับกระบอกขัดเมือกกาแฟ บวกกับแรงขัดจากเพลาขัดเมือก ต้นกำลังได้จากมอเตอร์ ขนาด ½ แรงม้า 1 เฟส 220 โวลต์และทดรอบให้เหลือจำนวน 230 รอบต่อนาที สามารถขัดเมือกกาแฟที่แช่ทิ้งไว้ 1 คืน ออกได้หมดและมีเม็ดกาแฟที่แตกเนื่องจากการขัดเมือกน้อยมาก (น้อยกว่า 0.2 เปอร์เซ็นต์) ที่ความเร็วรอบที่ 230 รอบต่อนาที
ลักษณะเด่นของเครื่องมีขนาดความกว้าง 60 เซนติเมตร ความยาว 80 เซนติเมตร และความสูง 80 เซนติเมตร ซึ่งเป็นเครื่องที่มีขนาดเล็กกะทัดรัดสามารถใช้งานและเคลื่อนย้ายได้สะดวก ประสิทธิภาพของเครื่อง สามารถขัดเมือกกาแฟ ได้ 600 กิโลกรัมต่อชั่วโมง
ขั้นตอนการผลิตกาแฟกะลา มี 4 ขั้นตอนหลักคือ
1. การกะเทาะผลกาแฟสุก
2. การหมัก
3. การขัดเมือกออก
4. การตากแห้งและเก็บ ซึ่งปัจจุบันการขัดเมือกกาแฟส่วนใหญ่ ยังต้องอาศัยแรงงานคนเป็นหลักโดยใช้ฝ่ามือถูเม็ดกาแฟกับพื้นตะกร้า เพื่อให้เม็ดกาแฟขัดสีกับตะกร้า ทำให้เมือกกาแฟหลุดจากเม็ด ปริมาณที่ได้ประมาณ 30-50 กิโลกรัมต่อชั่วโมงต่อคน และเมื่อมีความต้องการเม็ดกาแฟจำนวนการผลิตมาก ๆ จึงจำเป็นต้องสร้างเครื่องขัดเมือกกาแฟซึ่งทำให้การควบคุมคุณภาพของเม็ดกาแฟและการเพิ่มปริมาณการผลิตได้จำนวนมากขึ้นอีกทั้งยังลดความเสียหายของเม็ดกาแฟสดด้วย
ติดต่อเจ้าของผลงานได้ที่
นายแมน ตุ้ยแพร่
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตภาคพายัพ
ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300
โทรศัพท์ 0-5389-2780 ต่อ 2340 โทรสาร 0-5389-2462
tmanman@hotmail.com
สนับสนุนโดย
โครงการประดิษฐ์กรรมเพื่อการพัฒนาชนบท
สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ลักษณะเด่นของเครื่องมีขนาดความกว้าง 60 เซนติเมตร ความยาว 80 เซนติเมตร และความสูง 80 เซนติเมตร ซึ่งเป็นเครื่องที่มีขนาดเล็กกะทัดรัดสามารถใช้งานและเคลื่อนย้ายได้สะดวก ประสิทธิภาพของเครื่อง สามารถขัดเมือกกาแฟ ได้ 600 กิโลกรัมต่อชั่วโมง
ขั้นตอนการผลิตกาแฟกะลา มี 4 ขั้นตอนหลักคือ
1. การกะเทาะผลกาแฟสุก
2. การหมัก
3. การขัดเมือกออก
4. การตากแห้งและเก็บ ซึ่งปัจจุบันการขัดเมือกกาแฟส่วนใหญ่ ยังต้องอาศัยแรงงานคนเป็นหลักโดยใช้ฝ่ามือถูเม็ดกาแฟกับพื้นตะกร้า เพื่อให้เม็ดกาแฟขัดสีกับตะกร้า ทำให้เมือกกาแฟหลุดจากเม็ด ปริมาณที่ได้ประมาณ 30-50 กิโลกรัมต่อชั่วโมงต่อคน และเมื่อมีความต้องการเม็ดกาแฟจำนวนการผลิตมาก ๆ จึงจำเป็นต้องสร้างเครื่องขัดเมือกกาแฟซึ่งทำให้การควบคุมคุณภาพของเม็ดกาแฟและการเพิ่มปริมาณการผลิตได้จำนวนมากขึ้นอีกทั้งยังลดความเสียหายของเม็ดกาแฟสดด้วย
ติดต่อเจ้าของผลงานได้ที่
นายแมน ตุ้ยแพร่
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตภาคพายัพ
ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300
โทรศัพท์ 0-5389-2780 ต่อ 2340 โทรสาร 0-5389-2462
tmanman@hotmail.com
สนับสนุนโดย
โครงการประดิษฐ์กรรมเพื่อการพัฒนาชนบท
สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คำสำคัญ
บันทึกโดย
