เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
โครงสร้างธนาคารปูม้าแบบโรงเรือนชายฝั่ง ประกอบด้วย โรงเรือนที่มีหลังคาเพื่อช่วยป้องกันแสงและความร้อนในเวลากลางวัน ชุดธนาคารปูม้า 1 ชุด ประกอบด้วยถังฟักจำนวน 10 ใบ มีระบบท่อออกซิเจนที่แรงพอจะให้ไข่ในถังไม่ตกอยู่ที่ก้นถัง ใส่แม่ปู 1 ตัวต่อถัง และเติมน้ำ 20 ลิตร เพื่อให้ความหนาแน่นของไข่และตัวอ่อนปูม้าอยู่ในระดับที่เหมาะสม ธนาคารปูม้าเป็นเครื่องมือสร้างความตระหนัก การเรียนรู้ เมื่อปูม้าฝักไข่สำเร็จ สามารถนำปูม้าไปจำหน่าย เพื่อสร้างกลไกความเข้มแข็งของชุมชน เงินที่เหลือจากค่าใช้จ่ายในการธนาคารปูม้า สามารถจัดสรรเป็นทุนการศึกษาของเด็กนักเรียนในพื้นที่ รวมทั้งธนาคารปูม้าแบบโรงเรือนบนฝั่งยังสามารถขยายผลต่อยอดเพิ่มรายได้ด้วยกิจกรรมส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก BCG Economy เช่น การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ร้านอาหารชุมชน ธุรกิจแปรรูปของชุมชน เป็นต้น ธนาคารปูม้าแบบโรงเรือนบนฝั่งในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ดำเนินงานโดยมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จะดำเนินการใน 2รูปแบบ คือ แบบปล่อยปูม้าระยะซูเอี้ย และแบบปล่อยลูกปูม้าระยะแรกหรือระยะลูกปูวัยอ่อนให้แก่ชุมชนชาวประมงผู้ประกอบการทางการประมงในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 81 ชุมชน
ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ ชุมชนต้นแบบ ธนาคารปูม้าบ้านในถุ้ง ตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
หมายเลขโทรศัพท์ 0873822921
