เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราส่วนของผลลำดวนต่อน้ำ (1:1,1:2,1:3) อุณหภูมิ (15°C, 25°C, 30°C) และรูปแบบกล้าเชื้อ (ยีสต์สด,ยีสต์แห้ง,ตรึงเซลล์) ที่เหมาะสมในการหมักไวน์ลำดวน พบว่าอัตราส่วนของที่เหมาะสมในการหมักไวน์มากที่สุดคืออัตราส่วน 1:2 มีปริมาณแอลกอฮอล์เท่ากับ 15 เปอร์เซ็นต์ ค่าความเป็นกรด-ด่างเท่ากับ 3.5 ปริมาณกรดเท่ากับ 0.28 เปอร์เซ็นต์ และมีปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้เท่ากับ 10.83 องศาบริกซ์ อุณหภูมิที่เหมาะสมในการหมักไวน์ลำดวนคืออุณหภูมิที่ 25 องศาเซลเซียส โดยมีจำนวนเซลล์ยีสต์ที่นับได้สูงสุดเท่ากับ 2.2×106 cfu/ml รูปแบบกล้าเชื้อที่ใช้สำหรับการหมักไวน์ลำดวนพบว่าการตรึงเซลล์และการใช้ยีสต์สดให้ปริมาณแอลกอฮอล์ที่วัดได้ในไวน์สูงสุดมีค่าเท่ากับ 9.43 และ 9.40 เปอร์เซ็นต์ต่อปริมาตร ตามลำดับ กล้าเชื้อการตรึงเซลล์จะพบจำนวนเซลล์ยีสต์มากที่สุด (8.7 x 105 cfu/ml) และมากกว่าการใช้ยีสต์สด (6.8x105 cfu/ml) ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระในไวน์ลำดวนที่หมักนาน 1 สัปดาห์ ไวน์ลำดวนที่ใช้กล้าเชื้อแบบยีสต์สดมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระได้ดีที่สุดโดยวิธี DPPH (EC50) มีค่าเท่ากับ 80.05 mg/ml มีปริมาณฟีนอลิกและแอนโทไซยานินเท่ากับ 3.79 mg GAE/ml และ 24.63 mg/L ตามลำดับ การทดสอบการยอมรับของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ไวน์ลำดวน ผู้บริโภคให้การยอมรับไวน์ลำดวนที่ใช้รูปแบบกล้าเชื้อยีสต์แห้งและการตรึงเซลล์มากที่สุด ด้านความชอบโดยรวมเท่ากับ 8.17 และ 8.00 (p>0.05) อยู่ในระดับความชอบมาก ดังนั้นการใช้กล้าเชื้อแบบตรึงเซลล์จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจนำไปใช้ในการผลิตไวน์ลำดวนเนื่องจากสามารถนำกล้าเชื้อในรูปแบบเม็ดบีทที่ผ่านการใช้หมักไวน์แล้วกลับมาใช้ได้อีก ซึ่งจะสามารถทำให้ลดขั้นตอนการเตรียมกล้าเชื้อและลดต้นทุนในการผลิตไวน์ได้ดี
