เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
ชื่อ
การเพาะเห็ดข้าวโพดจากวัสดุเหลือทิ้งจากการปลูกข้าวโพดเพื่อการพึ่งพาตนเอง อย่างยั่งยืนของเกษตรกร
ชม 195 ครั้ง
61
เจ้าของ
ดร. ขรรคชัย ดั้นเมฆ
เมล์
khanchai.da@up.ac.th
รายละเอียด
เกิดแนวคิดที่จะนําส่วนที่เหลือจากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตวมาทํา ให้เกิดประโยชน์โดยมุ่งเน้นไปที่การนําเป็นวัสดุเพื่อการเพาะเห็ด โดยศึกษาเลียนแบบจากภูมิปัญญาชาวบ้าน ในจังหวัดพะเยาที่มีการนําเปลือกถั่วมาทําการเพาะเห็ดถั่ว (Copriuns fimetarius) ซึ่งเป็นเห็ดใน Family Coprinaceae Order Agaricales Phylum Basidiomycetes ที่อยู่คู่กับคนทางภาคเหนือที่ปลูกถั่วมาตั้งแต่ โบราณ (Osathaphant, 2005) เพราะเป็นเห็ดที่เจริญบนซากถั่วที่กองไว้หลังการเก็บเกี่ยวฝักถั่วออกไปแล้ว ทิ้งไว้เปียกฝนแล้วเน่าเปลืออยผุพัง เส้นใยเห็ดจะเจริญและเริ่มสร้างดอกเห็ดได้ภายใน 5-7 วัน ลักษณะดอกเห็ด คล้ายเห็ดโคน สีขาวสีหมวกสวยงามสมส่วน ก้านดอกขนาดเท่าดินสอดํา ความยาวของดอกเห็ดประมาณ 2-3 นิ้ว ดอกเห็ดจะทยอยเกิดใหม่ไปเรื่อยๆ จนหมดอาหารในกองต้นถั่วนั้น
บันทึกโดย
