เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
ชื่อ
เครื่องบดเมล็ดพืช
ชม 4,123 ครั้ง
54
เจ้าของ
-
เมล์
-
รายละเอียด
ความสำคัญของเครื่องบดเมล็ดพืช
พืชที่นิยมนำมาบดเป็นพืชที่มีน้ำมันเป็นส่วนประกอบ เช่น พืชตระกูลถั่ว เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ เนยงา ซึ่งใช้บริโภค หรือบางครั้งผลจากการบด เช่น ครีมงา (ในกรณีที่บดงาที่ยังไม่ผ่านการคั่ว) ซึ่งใช้เป็นเครื่องประทินผิวได้ การแปรรูปพืชและน้ำมันในการบดก็เพื่อสามารถนำไปเป็นส่วนประกอบของขนมประเภทต่างๆ หรือนำไปรับประทานตรงๆ เช่น เนยถั่ว การบดพืชที่มีน้ำมันนี้ทำได้ยาก ต้องอาศัยเครื่องที่นำเข้าจากต่างประเทศมีราคาแพงมาก ซึ่งเครื่องที่นำเข้าเป็นชนิดที่ทำจากหินภูเขาไฟ ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค หากมีเศษหินเหล่านั้นเจือปนลงไป เครื่องบดเมล็ดพืชที่พัฒนาขึ้นใหม่นี้ราคาถูกกว่าเครื่องจากต่างประเทศ และทำจากสเตนเลสซึ่งแก้ปัญหาสิ่งเจือปนที่เกิดขึ้นได้ อีกทั้งใช้งานง่ายบำรุงรักษาง่าย
รู้จักกับเครื่องบดเมล็ดพืช
เครื่องบดเมล็ดพืชประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก 7 ส่วน ดังนี้ ได้แก่ ฝาคลอบ ล้อบด ใบกวาดที่ขอบล้อ ใบกวาดภายในอ่าง อ่างใส่ผลิตภัณฑ์ เกียร์ส่งกำลัง และมอเตอร์ต้นกำลังส่วนกลางของอ่างใส่ผลิตภัณฑ์ จะเป็นผิวนูนเรียบเพื่อให้เมล็ดพืชที่ต้องการบดไปรวมกันที่กลางอ่าง เมล็ดพืชที่ต้องการบดจะถูกบังคับให้อยู่บนทางที่ล้อบดทั้งสองวิ่งผ่าน ซึ่งเป็นแนวเส้นรอบวงของขอบอ่างใส่ผลิตภัณฑ์นั่นเอง
การทำงานของเครื่องบดเมล็ดพืช
เครื่องบดเมล็ดพืชนี้ใช้มอเตอร์ขนาด 1 แรงม้า แบบ single phase ความเร็วรอบ 1,440 ต่อนาที ทำหน้าที่ส่งกำลังผ่านสายพานไปยังชุดเกียร์ ชุดเกียร์ทำหน้าที่เปลี่ยนทิศทางการหมุนจากระนาบแนวตั้งให้อยู่ในระนาบแนวนอน และลดความเร็วรอบจนแกนที่ยึดล้อบดทั้งสองข้างหมุนด้วยความเร็วรอบประมาณ 120 รอบต่อนาที ขณะเครื่องทำงานล้อบดจะหมุนรอบตัวเองไปด้วย ทำให้เกิดแรงบดกดภายในอ่างอย่างต่อเนื่อง สามารถบดเมล็ดพืชได้อย่างสม่ำเสมอและมีประสิทธิภาพ ในขณะการบดเมล็ดพืช ฝาครอบจะถูกวางลงบนอ่างผลิต เพื่อกันไม่ให้เมล็ดพืช ครีมหรือน้ำมัน กระเด็นออกนอกเครื่อง ใบปาดที่ขอบล้อทั้งสองชุด ทำหน้าที่ไม่ให้ครีมหรือเนยติดที่ขอบล้อ และยังลดกระเซ็นของครีมหรือเนยไปติดที่ขอบด้านในของฝาครอบ (เหมือนกับรถที่ต้องมีบังโคลน) ทำให้เมล็ดพืช ครีมหรือเนย ถูกปาดตกลงในอ่างใส่ผลิตภัณฑ์และไหลลงไปถูกล้อบด บดได้อย่างต่อเนื่อง ใบกวาดภายในอ่างจะทำหน้าที่ พลิกและกวาดเมล็ดพืชภายในอ่างให้หล่นลงไปยังขอบอ่าง ซึ่งเป็นทางวิ่งของล้อบด ทำให้เมล็ดพืชภายในอ่างทุกเมล็ดถูกบดอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
การใช้งานเครื่องบดเมล็ดพืช
เริ่มด้วยเสียบปลั๊กกับไฟฟ้าขนาด 220 โวลต์ (ไฟบ้าน) ใส่เมล็ดพืชลงไปในอ่างผลิตภัณฑ์แล้วเปิดสวิตซ์ ปล่อยให้เครื่องทำงานไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้ครีมหรือเนยตามต้องการ โดยมีปริมาณของเมล็ดพืชบางชนิดที่แนะนำไว้สำหรับเครื่องนี้
การบำรุงรักษาเครื่องบดเมล็ดพืช
การบำรุงรักษาเครื่องทำได้ง่าย ไม่ซับซ้อน ให้ตรวจสอบความตึงของสายพานประมาณเดือนละ 1 ครั้ง และหมั่นทำความสะอาดอ่างใส่ผลิตภัณฑ์ ล้อบด ใบกวาดที่ขอบล้อ และใบกวาดภายในอ่างทุกครั้ง เมื่อเสร็จสิ้นการใช้งานในแต่ละวัน
ข้อควรระวัง
การบดเมล็ดพืชที่รสชาติแตกต่างกันมาก อาจทำให้รสชาติของเมล็ดพืชที่บดทีหลังเสียไป เช่น บดพริกเสร็จแล้วบดงาต่อ เนยงาที่ได้อาจรับประทานไม่ได้ หากการทำความสะอาดไม่ดีพอ
หากบดเมล็ดพืชที่มีรสจัดๆ ควรทำความสะอาดให้ดี ข้อแนะนำควรทำความสะอาดให้ดี แล้วควรใส่น้ำสะอาดลงไปในอ่างบด แล้วแช่ทิ้งไว้ 1 วัน ทำความสะอาดให้ดีอีกครั้งก่อนบดเมล็ดพืชชนิดอื่นต่อ
ติดต่อขอข้อมูลได้ที่
ศูนย์การเรียนรู้และพัฒนา งา เชิงเกษตรอุตสาหกรรมครัวเรือนแบบยั่งยืน
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
เบอร์โทรศัพท์ 045-353-042 , 045-353-035
หรือที่
ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
โทรศัพท์ 0-2564-7000
โทรสาร 0-2564-7001-5
Call Center 02-564-8000
website : http://www.nstda.or.th
พืชที่นิยมนำมาบดเป็นพืชที่มีน้ำมันเป็นส่วนประกอบ เช่น พืชตระกูลถั่ว เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ เนยงา ซึ่งใช้บริโภค หรือบางครั้งผลจากการบด เช่น ครีมงา (ในกรณีที่บดงาที่ยังไม่ผ่านการคั่ว) ซึ่งใช้เป็นเครื่องประทินผิวได้ การแปรรูปพืชและน้ำมันในการบดก็เพื่อสามารถนำไปเป็นส่วนประกอบของขนมประเภทต่างๆ หรือนำไปรับประทานตรงๆ เช่น เนยถั่ว การบดพืชที่มีน้ำมันนี้ทำได้ยาก ต้องอาศัยเครื่องที่นำเข้าจากต่างประเทศมีราคาแพงมาก ซึ่งเครื่องที่นำเข้าเป็นชนิดที่ทำจากหินภูเขาไฟ ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค หากมีเศษหินเหล่านั้นเจือปนลงไป เครื่องบดเมล็ดพืชที่พัฒนาขึ้นใหม่นี้ราคาถูกกว่าเครื่องจากต่างประเทศ และทำจากสเตนเลสซึ่งแก้ปัญหาสิ่งเจือปนที่เกิดขึ้นได้ อีกทั้งใช้งานง่ายบำรุงรักษาง่าย
รู้จักกับเครื่องบดเมล็ดพืช
เครื่องบดเมล็ดพืชประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก 7 ส่วน ดังนี้ ได้แก่ ฝาคลอบ ล้อบด ใบกวาดที่ขอบล้อ ใบกวาดภายในอ่าง อ่างใส่ผลิตภัณฑ์ เกียร์ส่งกำลัง และมอเตอร์ต้นกำลังส่วนกลางของอ่างใส่ผลิตภัณฑ์ จะเป็นผิวนูนเรียบเพื่อให้เมล็ดพืชที่ต้องการบดไปรวมกันที่กลางอ่าง เมล็ดพืชที่ต้องการบดจะถูกบังคับให้อยู่บนทางที่ล้อบดทั้งสองวิ่งผ่าน ซึ่งเป็นแนวเส้นรอบวงของขอบอ่างใส่ผลิตภัณฑ์นั่นเอง
การทำงานของเครื่องบดเมล็ดพืช
เครื่องบดเมล็ดพืชนี้ใช้มอเตอร์ขนาด 1 แรงม้า แบบ single phase ความเร็วรอบ 1,440 ต่อนาที ทำหน้าที่ส่งกำลังผ่านสายพานไปยังชุดเกียร์ ชุดเกียร์ทำหน้าที่เปลี่ยนทิศทางการหมุนจากระนาบแนวตั้งให้อยู่ในระนาบแนวนอน และลดความเร็วรอบจนแกนที่ยึดล้อบดทั้งสองข้างหมุนด้วยความเร็วรอบประมาณ 120 รอบต่อนาที ขณะเครื่องทำงานล้อบดจะหมุนรอบตัวเองไปด้วย ทำให้เกิดแรงบดกดภายในอ่างอย่างต่อเนื่อง สามารถบดเมล็ดพืชได้อย่างสม่ำเสมอและมีประสิทธิภาพ ในขณะการบดเมล็ดพืช ฝาครอบจะถูกวางลงบนอ่างผลิต เพื่อกันไม่ให้เมล็ดพืช ครีมหรือน้ำมัน กระเด็นออกนอกเครื่อง ใบปาดที่ขอบล้อทั้งสองชุด ทำหน้าที่ไม่ให้ครีมหรือเนยติดที่ขอบล้อ และยังลดกระเซ็นของครีมหรือเนยไปติดที่ขอบด้านในของฝาครอบ (เหมือนกับรถที่ต้องมีบังโคลน) ทำให้เมล็ดพืช ครีมหรือเนย ถูกปาดตกลงในอ่างใส่ผลิตภัณฑ์และไหลลงไปถูกล้อบด บดได้อย่างต่อเนื่อง ใบกวาดภายในอ่างจะทำหน้าที่ พลิกและกวาดเมล็ดพืชภายในอ่างให้หล่นลงไปยังขอบอ่าง ซึ่งเป็นทางวิ่งของล้อบด ทำให้เมล็ดพืชภายในอ่างทุกเมล็ดถูกบดอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
การใช้งานเครื่องบดเมล็ดพืช
เริ่มด้วยเสียบปลั๊กกับไฟฟ้าขนาด 220 โวลต์ (ไฟบ้าน) ใส่เมล็ดพืชลงไปในอ่างผลิตภัณฑ์แล้วเปิดสวิตซ์ ปล่อยให้เครื่องทำงานไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้ครีมหรือเนยตามต้องการ โดยมีปริมาณของเมล็ดพืชบางชนิดที่แนะนำไว้สำหรับเครื่องนี้
การบำรุงรักษาเครื่องบดเมล็ดพืช
การบำรุงรักษาเครื่องทำได้ง่าย ไม่ซับซ้อน ให้ตรวจสอบความตึงของสายพานประมาณเดือนละ 1 ครั้ง และหมั่นทำความสะอาดอ่างใส่ผลิตภัณฑ์ ล้อบด ใบกวาดที่ขอบล้อ และใบกวาดภายในอ่างทุกครั้ง เมื่อเสร็จสิ้นการใช้งานในแต่ละวัน
ข้อควรระวัง
การบดเมล็ดพืชที่รสชาติแตกต่างกันมาก อาจทำให้รสชาติของเมล็ดพืชที่บดทีหลังเสียไป เช่น บดพริกเสร็จแล้วบดงาต่อ เนยงาที่ได้อาจรับประทานไม่ได้ หากการทำความสะอาดไม่ดีพอ
หากบดเมล็ดพืชที่มีรสจัดๆ ควรทำความสะอาดให้ดี ข้อแนะนำควรทำความสะอาดให้ดี แล้วควรใส่น้ำสะอาดลงไปในอ่างบด แล้วแช่ทิ้งไว้ 1 วัน ทำความสะอาดให้ดีอีกครั้งก่อนบดเมล็ดพืชชนิดอื่นต่อ
ติดต่อขอข้อมูลได้ที่
ศูนย์การเรียนรู้และพัฒนา งา เชิงเกษตรอุตสาหกรรมครัวเรือนแบบยั่งยืน
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
เบอร์โทรศัพท์ 045-353-042 , 045-353-035
หรือที่
ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
โทรศัพท์ 0-2564-7000
โทรสาร 0-2564-7001-5
Call Center 02-564-8000
website : http://www.nstda.or.th
บันทึกโดย