เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
ชื่อ
เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ Bacillus Megaterium สำหรับควบคุมโรคกาบใบแห้งในข้าว
ชม 3,220 ครั้ง
65
เจ้าของ
รศ.ดร.ฤดีกร วิวัฒนปฐพี
เมล์
phisamai@biotec.or.th
รายละเอียด
โรคกาบใบแห้งของข้าวที่เกิดจากเชื้อรา Rhizoctonia solani นับเป็นโรคหนึ่งที่ก่อให้เกิดความเสียหายมากที่สุดต่อการเพาะปลูกข้าวทั้งในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ทั่วโลก การใช้สารเคมีกำจัดเชื้อราเพื่อควบคุมโรคนี้ยังมีข้อเสียหลายประการ เช่น การตกค้างในข้าวที่นำมาบริโภค การตกค้างในน้ำและดินอันก่อให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศน์ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
โรคกาบใบแห้งในข้าวเกิดขึ้นเมื่อเม็ดสืบพันธุ์สเคลอโรเธีย (scerotia) ของ R. solani ที่มีอยู่ในดินลอยขึ้นมาที่ผิวน้ำและเคลื่อนที่ไปติดกับลำต้นของข้าว โดยการติดเชื้อเริ่มจากบริเวณขอบน้ำที่พืชสัมผัสและอาการของโรคแพร่กระจายขึ้นไปตามลำต้น การติดเชื้อจะรุนแรงที่สุดในระยะต้นข้าวแตกกอซึ่งเป็นช่วงที่มีความชื้นสูง สภาพดังกล่าวเป็นสภาวะเหมาะสมกับการแพร่กระจายของโรคทั้งในกอข้าวกอเดียวกันและระหว่างกอข้าวข้างเคียง
สรุปเทคโนโลยี
แบคทีเรีย Bacillus megaterium มีฤทธิ์ในการเป็นปฏิปักษ์ต่อ เชื้อรา Rhizoctonia solani โดยการสร้างสารปฏิชีวนะที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเชื้อรา ซึ่งงานวิจัยนี้ได้พัฒนาสูตรตำรับเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ Bacillus megaterium ให้อยู่ในรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่เกษตรกรสามารถใช้ได้ง่าย มีความคงตัว และมีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคกาบใบแห้งของข้าว
จุดเด่นของเทคโนโลยี
นักวิจัยวิจัยได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ 2 สูตรคือ แกรนูลละลายน้ำฉีดพ่น และ เม็ดฟู่
1. ผลิตภัณฑ์สูตรแกรนูลฉีดพ่นและเม็ดฟู่มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคกาบใบแห้งของข้าวได้ดีกว่าสารเคมีฆ่าเชื้อรา
2. ผลิตภัณฑ์ สามารถเก็บที่อุณหภูมิห้องได้นานกว่า 15 เดือน โดยยังมีปริมาณเชื้อสูงถึง 109 CFU/g
3. อัตราการใช้ผลิตภัณฑ์แกรนูลฉีดพ่น 200 กรัม/1ไร่ อัตราการใช้ผลิตภัณฑ์เม็ดฟู่ 70 เม็ด/ไร่
4. ใช้งานง่ายในระดับไร่นา
ติดต่อเจ้าของผลงานได้ที่
รศ.ดร.ฤดีกร วิวัฒนปฐพี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (เจ้าของผลงาน)
คุณพิศมัย อนุพงศานุกูล
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง
อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ 02-564-6700 ต่อ 3134
โทรสาร 0-2564-6985
E-mail phisamai@biotec.or.th
ที่มา : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
โรคกาบใบแห้งในข้าวเกิดขึ้นเมื่อเม็ดสืบพันธุ์สเคลอโรเธีย (scerotia) ของ R. solani ที่มีอยู่ในดินลอยขึ้นมาที่ผิวน้ำและเคลื่อนที่ไปติดกับลำต้นของข้าว โดยการติดเชื้อเริ่มจากบริเวณขอบน้ำที่พืชสัมผัสและอาการของโรคแพร่กระจายขึ้นไปตามลำต้น การติดเชื้อจะรุนแรงที่สุดในระยะต้นข้าวแตกกอซึ่งเป็นช่วงที่มีความชื้นสูง สภาพดังกล่าวเป็นสภาวะเหมาะสมกับการแพร่กระจายของโรคทั้งในกอข้าวกอเดียวกันและระหว่างกอข้าวข้างเคียง
สรุปเทคโนโลยี
แบคทีเรีย Bacillus megaterium มีฤทธิ์ในการเป็นปฏิปักษ์ต่อ เชื้อรา Rhizoctonia solani โดยการสร้างสารปฏิชีวนะที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเชื้อรา ซึ่งงานวิจัยนี้ได้พัฒนาสูตรตำรับเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ Bacillus megaterium ให้อยู่ในรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่เกษตรกรสามารถใช้ได้ง่าย มีความคงตัว และมีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคกาบใบแห้งของข้าว
จุดเด่นของเทคโนโลยี
นักวิจัยวิจัยได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ 2 สูตรคือ แกรนูลละลายน้ำฉีดพ่น และ เม็ดฟู่
1. ผลิตภัณฑ์สูตรแกรนูลฉีดพ่นและเม็ดฟู่มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคกาบใบแห้งของข้าวได้ดีกว่าสารเคมีฆ่าเชื้อรา
2. ผลิตภัณฑ์ สามารถเก็บที่อุณหภูมิห้องได้นานกว่า 15 เดือน โดยยังมีปริมาณเชื้อสูงถึง 109 CFU/g
3. อัตราการใช้ผลิตภัณฑ์แกรนูลฉีดพ่น 200 กรัม/1ไร่ อัตราการใช้ผลิตภัณฑ์เม็ดฟู่ 70 เม็ด/ไร่
4. ใช้งานง่ายในระดับไร่นา
ติดต่อเจ้าของผลงานได้ที่
รศ.ดร.ฤดีกร วิวัฒนปฐพี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (เจ้าของผลงาน)
คุณพิศมัย อนุพงศานุกูล
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง
อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ 02-564-6700 ต่อ 3134
โทรสาร 0-2564-6985
E-mail phisamai@biotec.or.th
ที่มา : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
บันทึกโดย
