เครือข่ายส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม กปว.#
  • บริการของ กปว.
    • โครงการ
    • เทคโนโลยี
    • ผู้เชี่ยวชาญ
    • คำปรึกษา/ลูกค้า
    • ผลิตภัณฑ์
    • แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • หน้าหลัก
  • Tuesday, July 1, 2025 เวลา :

ข้อมูลผลิตภัณฑ์

รหัส
2328
ชื่อ
เครื่องฆ่าเชื้อธนบัตร ชม 315 ครั้ง
เจ้าของ
อาธร อิสสระโชติ
เมล์
รายละเอียด


ธนบัตร เป็นสิ่งที่เป็นตัวแทนในการแลกเปลี่ยน ซึ่งสามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ธนบัตรเป็นเงินที่ใช้หมุนเวียน ซึ่งหลังจากได้ประกาศใช้ จนถึงเก็บเข้าทำลาย ธนบัตรจะใช้เวลาหมุนเวียนนับ 10 ปี การหมุนเวียนดังกล่าว ธนบัตรได้ผ่านการใช้หรือสัมผัสมือของบุคคลมากมาย หลากหลายอาชีพ เช่น พ่อค้าของชำ แม่ค้าอาหารสด บุคคลที่สัมผัสต่อรังสีหรือสารเคมีต้องห้าม ตลอดจนผู้ป่วยโรคติดเชื้อต่างๆ ซึ่งเขาเหล่านี้ก็ต้องสัมผัสกับธนบัตรเช่นกัน ดังนั้นเราไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ธนบัตร จะไม่ปนเปื้อนด้วยเชื้อต่างๆ ธนบัตร ส่วนมากทำจากกระดาษ แม้ว่าจะเป็นกระดาษชั้นเยี่ยม แต่เชื้อก็ยังมีฝังตัวอยู่ได้ เชื้อที่ติดมากับมือจะเข้าสู่ธนบัตร จากธนบัตรสามารถส่งต่อไปยังธนบัตรใบอื่นๆในที่เก็บเดียวกันเช่นธนาคารหรือในกระเป๋าเงิน นับเป็นการส่งต่อของเชื้ออย่างไม่มีที่สิ้นสุด จะเห็นว่า ตลอดระยะเวลาที่ ธนบัตร ได้หมุนเวียน ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ธนบัตรไม่ได้รับการฆ่าเชื้อหรือทำความสะอาดแต่อย่างใด ธนบัตรย่อมเป็นแหล่งสะสมและแพร่เชื้อมาเป็นเวลาที่ยาวนาน และเชื้อที่สะสมนั้นจะขึ้นอยู่กับผู้ใช้ธนบัตร เช่นหากเป็นผู้ป่วย ด้วยโรคต่างๆเช่น วัณโรค เอดส์ ไวรัสต่างๆ เชื้อเหล่านั้นย่อมปนเปื้อนมากับธนบัตรที่ผ่านการใช้เช่นกัน การฆ่าเชื้อธนบัตรนั้น เป็นการลดการแพร่ขยายของเชื้อที่ติดมากับธนบัตร ที่อาจไปสู่คนหรือธนบัตรอื่นๆ เป็นการฆ่าเชื้อที่ปฐมภูมิ เครื่องฆ่าเชื้อธนบัตร ที่ได้ประดิษฐ์ขึ้น มีการฆ่าเชื้อโดยอาศัยน้ำยาฆ่าเชื้อที่ทางการแพทย์รับรอง นับเป็นการฆ่าโดนอาศัยน้ำยาที่เป็นของเหลวเป็นการฆ่าในครั้งแรก และมีการฆ่าด้วยรังสี โดยการใช้รังสีอุลตร้าไวโอเลต ซึ่งเป็นรังสีเหนือม่วง เป็นการฆ่าเชื้อครั้งที่ 2 ซึ่งทำให้ธนบัตรปราศจากเชื้ออย่างมั่นใจ



ประโยชน์ / คุณลักษณะ



1. ฆ่าเชื้อธนบัตร มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงได้ทุกแบบและขนาด

2. เหมาะใช้ในสถาบันการเงินและชุมชน

3. ใช้หลักการฆ่าเชื้อที่ทันสมัย

4. สามารถพัฒนาสู่เชิงพานิชได้

5. ลดการนำเข้าอุปกรณ์ เครื่องมือ จากต่างประเทศ

6. สามารถพัฒนาสู่เชิงอุตสาหกรรมได้




คำสำคัญ
บันทึกโดย
นายนูรูดดีน  สะดี  วิทยาลัยเทคนิคปัตตานี

รายละเอียดผู้รับบริการ

ไม่พบข้อมูลผู้รับบริการ




สงวนลิขสิทธิ์ © 2568 กลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม(ธท.) กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(กปว.)
มีปัญหาแจ้งได้ที่ ekapong at mhesi.go.th