เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
การเลี้ยงกระบือในประเทศไทยมีการเลี้ยงมาอย่างยาวนานและมีความผูกพันธ์กับวิถีชีวิตของเกษตรกร ประชากรกระบือปลัก (Bubalus bubalis) กว่าร้อยละ 83 ของประเทศไทยอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประชากรกระบือส่วนมาก ร้อยละ 60 อยู่กับเกษตรกรขนาดฟาร์มที่เล็ก โดยการเลี้ยงส่วนมากยังเป็นรูปแบบการเลี้ยงในรูปแบบรายย่อยครอบครัวละไม่เกิน 5 – 10 ตัว ซึ่งมักเลี้ยงไว้เป็นแหล่งออมทรัพย์อีกรูปแบบหนึ่ง กรมปศุสัตว์รายงานว่า พ.ศ.2561 มีประชากรกระบือประมาณ 1 ล้านตัว ซึ่งลดลงอย่างมากถึงร้อยละ 70 ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของวัตถุประสงค์เพื่อใช้งานทางการเกษตร การแทนที่ของเครื่องจักร การบริโภค อีกทั้งในการผสมพันธุ์กระบือมักใช้การผสมจริงจริงในฝูง ทำให้การคัดเลือกพันธุ์มีค่อนข้างจำกัด เนื่องจากข้อจำกัดนี้ทำให้ประชากรกระบือมีปริมาณและมีขนาดเล็กลง อีกทั้งยังส่งผลถึงความสมบูรณ์พันธุ์ลงลงด้วย ซึ่งจะส่งผลไปยังปัญหาด้านระบบสืบพันธุ์ (Techakumphu et al., 2014) และในส่วนการผสมเทียมและคุณภาพน้ำเชื้อด้วยเช่นกันที่ส่งผลต่อการผสมติดในกระบือ (Saraswat et al., 2016) ทำให้จำนวนประชากรมีปริมารลดลง การผสมเทียมกระบืออยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของกรมปศุสัตว์ ในช่วง 10 ให้หลัง กรมปศุสัตว์มีปัญหาด้านการผลิตน้ำเชื้อกระบือ อีกทั้งความต้องการของเกษตรกรก็ลดต่ำลง ในปัจจุบันเทคโนโลยีด้านในการจัดการสุขภาพและระบบสืบพันธุ์กระบือตลอดจนด้านคุณภาพน้ำเชื้อและได้เจริญและพัฒนาขึ้นเพื่อที่จะสามารถเพื่อเพิ่มความสมบูรณ์พันธุ์และประสิทธิภาพการผลิตได้ดีขึ้น
https://drive.google.com/file/d/1xeJ3n8RKmkCpifmq2BFJSsaRSB0ygBrR/view
