เครือข่ายส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม กปว.#
  • บริการของ กปว.
    • โครงการ
    • เทคโนโลยี
    • ผู้เชี่ยวชาญ
    • คำปรึกษา/ลูกค้า
    • ผลิตภัณฑ์
    • แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • หน้าหลัก
  • Tuesday, July 1, 2025 เวลา :

ข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ 182

หมายเลขผู้เชี่ยวชาญ
1754
เข้าชม
182
ชื่อผู้เชี่ยวชาญ
ผศ.ดร.พรพรรณ สิระมนต์
หน่วยงาน
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ความเชี่ยวชาญ
Analytical Chemistry, Instrumental Analysis, Plant Extractives, Wood Chemistry
ตัวอย่างผลงาน
1. การถ่ายทอดเทคโนโลยีการสกัดสารสำคัญ และน้ำมันหอมระเหยจากพืชสำหรับใช้ในผลิตภัณฑ์ 2. การวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของสารสกัด และน้ำมันหอมระเหยจากพืช (GC-MS, GC, LC-MS, HPLC) 3. การวิเคราะห์คุณภาพของสารสกัด และน้ำมันหอมระเหยจากพืช (Antioxidant, Total phenolic content, Total flavonoid content) การศึกษาผลของการใช้คลื่นอัลตราซาวด์ร่วมกับตัวทำละลายเอทานอลในการสกัดแยกสารในกลุ่มฟีนอลิกจากเหง้าว่านนางคำ โดยศึกษา 3 ปัจจัยหลักที่มีผลต่อการสกัด ได้แก่ ความเข้มข้นของตัวทำละลายเอทานอล อุณหภูมิ และระยะเวลาในการสกัด จากผลการศึกษาพบว่า สภาวะที่เหมาะสมในการสกัดสารประกอบฟีนอลิกจากเหง้าว่านนางค าโดยใช้คลื่นอัลตร้าซาวด์ร่วมในการสกัด คือ การสกัดโดยใช้ตัวทำละลายเอทานอลความเข้มข้นร้อยละ 50 โดยปริมาตร ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 120 นาที ที่สภาวะนี้ให้ร้อยละผลได้ของสารสกัดเท่ากับ 23.50 ของน้ำหนักแห้ง ปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดที่สกัดได้สูงสุดเท่ากับ 120.83 ไมโครกรัมสมมูลของกรดแกลลิกต่อกรัมของน้้ำหนักตัวอย่างแห้ง เมื่อทดสอบฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดหยาบที่ได้จากสภาวะการสกัดที่เหมาะสมนี้พบว่ามีประสิทธิภาพในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดี โดยมีความเข้มข้นที่กำจัดอนุมูลอิสระได้ร้อยละ 50 (IC50) โดยวิธี DPPH เท่ากับ 7,945.32 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร เทียบกับน้ำหนักสารสกัดหยาบ
คำสำคัญ
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ  ว่านนางคำ  ดีพีพีเอช  สารประกอบฟีนอลิก  อัลตราซาวด์  
สาขา
 พืชผัก ผักพื้นบ้าน สมุนไพร,




สงวนลิขสิทธิ์ © 2568 กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(กปว.)
Science Research and Innovation Promotion and Utilization Division
Designed & Developed by Ekapong Musikacharoen
มีปัญหาแจ้งได้ที่ ekapong at mhesi.go.th