เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
จังหวัดอุบลราชธานีเป็นแหล่งผลิตข้าวกล้องงอกที่มีศักยภาพ ในข้าวกล้องงอกมีสารอาหารที่ส้าคัญหลายชนิด เช่น สารสื่อประสาท วิตามิน และใยอาหาร จึงช่วยร่างกายกระปรี้กระเปร่า ท้างานได้มีประสิทธิภาพ ชลอการเสื่อมของสมองและร่างกาย และลดอาการวัยทอง การวิจัยนี้ได้มีการน้าข้าวกล้องงอกมาเสริมในผลิตภัณฑ์หมักเปรี้ยวอันเป็นที่รู้จักและบริโภคกันอย่างแพร่หลายในแบบการผสมเชื้อโพรไบโอติก โดยผลการวิจัยครั้งนี้ได้สูตรผลิตภัณฑ์ข้าวกล้องงอกหมักโพรไบโอติก 6 ผลิตภัณฑ์ ที่มีส่วนผสมของข้าวกล้องงอกได้ดังนี้ โยเกิร์ตข้าวกล้องงอก (20%) โยเกิร์ตกาแฟข้าวกล้องงอก(8%) แหนมหมูและแหนมเห็ดข้าวกล้องงอก (15%) ข้าวหมากข้าวกล้องงอกสมุนไพรสายรุ้ง (35%) และ น้าข้าวกล้องงอกกลูโคสสกัด (35%) ซึ่งท้าให้ได้ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่มีสารออกฤทธิ์ทางเภสัชเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการต่อยอดจากภูมิปัญญาเดิม เพื่อใช้ประโยชน์และสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่วัตถุดิบในท้องถิ่น ตลอดจนเป็นทางเลือกเพื่อลดการใช้ยารักษาโรคได้ นอกจากนี้ยังได้ทดสอบผลของการใช้เชื้อโพรไบโอติกที่น้ามาใช้ในการทดลองในการยับยั้งเชื้อก่อโรค ซึ่งพบว่า เชื้อจากนมเปรี้ยวบัวหิมะทิเบต และเชื้อจากลูกแป้งข้าวหมาก สามารถยับยั้งจุลินทรีย์ก่อโรค Staphylococcus aureus และ Bacillus cereus ได้และไม่พบเชื้อที่ผลิตสารพิษอะฟลาทอกซินจากกล้าเชื้อทั้งสองชนิดนี้
ผลการวิจัยนี้ได้ถ่ายทอดให้แก่เกษตรกรผู้ผลิตข้าวกล้องงอกของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 (อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร อ้านาจเจริญ) จ้านวน 16 กลุ่ม (152 คน) และมีเจ้าหน้าส้านักงานเกษตรและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องอีก 23 คน
