เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
ชื่อ
แผ่นทดแทนหินธรรมชาติจากวัสดุรีไซเคิลแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (Magic Stone)
ชม 1,324 ครั้ง
63
เจ้าของ
ดร.เปรมฤดี กาญจนปิยะ เอ็มเทค-สวทช.
เมล์
-
รายละเอียด
ดร.เปรมฤดี กาญจนปิยะ นักวิจัยจากห้องปฏิบัติการอีโคดีไซน์ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ให้ข้อมูลแก่ทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์ว่า ประเทศไทยมีขยะอิเล็กทรอนิกส์มากถึงปีละ 40,000 ตัน ยิ่งไทยมีโรงงานแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ยิ่งมีขยะเป็นแผงวงจรเสียระหว่างกระบวนผลิตจำนวนมาก
แผงวงจรที่เสียจากกระบวนการผลิตจะถูกส่งไปยังโรงงานซึ่งรับรีไซเคิลแผงวงจรที่ตกคุณภาพ และเหลือผง PCB เป็นของเสีย ผงดังกล่าว ดร.เปรมฤดี อธิบายว่าเป็นชั้นฉนวนที่มีส่วนประกอบเป็นพลาสติก ใยแก้ว และวัสดุกลุ่มเรซิ่น ซึ่งโดยทั่วไปจะนำไปกำจัดด้วยฝั่งกลบหรือเผา แต่นักวิจัยห้องปฏิบัติการอีโคดีไซน์มองว่าเป็นการใช้ทรัพยากรที่ไม่คุ้ม และการกำจัดยังมีต้นทุนมากถึงตันละ 10,000 บาท จึงเกิดแนวคิดเปลี่ยนขยะดังกล่าวเป็นรายได้
ก่อนหน้านี้นักวิจัยห้องปฏิบัติการอีดคดีไซน์ได้ร่วมงานกับกรมควบคุมมลพิษ เพื่อแยกทองแดงออกจากแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และพบว่าในขั้นตอนท้ายสุดมีผง PCB เหลือเป็นของเสีย อีกทั้งเมื่อทราบถึงต้นทุนในการกำจัดที่สูงและรู้สึกเสียดายทรัพยากร จึงเป็นที่มาของการนำผงดังกล่าวกลับไปใช้ประโยชน์ โดยนำไปผสมกับโพลีเอสทีลีนหรือ PE ในสัดส่วย 50:50 เพื่อผลิตเป็นแผ่นทดแทนแผ่นหินตกแต่งบ้าน ด้วยการผสมและขึ้นรูปโดยไม่ใช้ความร้อน และให้ลักษณะผิวเหมือนเนื้อทรายด้วยแม่พิมพ์ที่มีผิวขรุขระ
ดร.เปรมฤดี และน.ส.พรนลัท สิงห์รัตนพันธุ์ นักวิเคราะห์จากห้องปฏิบัติการอีโคดีไซน์ ผู้ร่วมพัฒนาแผ่นทดแทนหินธรรมชาติด้วยวัสดุเหลือทิ้งจากการรีไซเคิลแผงวงจรเผยว่าจากการทดสอบความพิษและทดสอบการรั่วไหลของทองแดงที่เหลือตกค้างประมาณ 0.5 % พบว่ามีความปลอดภัย แต่ราคายังราคาสูงกว่าแผ่นหินธรรมชาติ ทว่า กลุ่มเป้าหมายของผู้ใช้วัสดุนี้คือผู้ที่ต้องการสร้างอาคารที่ได้รับการรับรองว่าเป็น อาคารสีเขียว หรืออาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ทว่า เสียงสะท้อนจากผู้ประกอบการโรงงานรีไซเคิลแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์มายังทีมวิจัยว่า ต้องการวัสดุก่อสร้างที่มีความต้องการมาก เช่น นำไปผสมซีเมนส์เพื่อผลิตอิฐก่อสร้าง เนื่องจากทางโรงงานต้องการกำจัดของเสียออกให้ได้เร็วที่สุด โดยไม่เน้นเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือทิ้ง ซึ่ง ดร.เปรมฤดี และน.ส.พรนลัท กำลังหาแนวทางพัฒนาต่อไป
จุดเด่นของเทคโนโลยี (Innovation Statement)
เป็นสูตรที่ได้ผ่านการพัฒนาให้สามารถใช้กับกระบวนการผลิตที่ง่ายในการหล่อขึ้นรูป
สามารถทำพื้นผิวได้หลากหลายสีสัน และหลากหลายผิวสัมผัส
เป็นการนำของเหลือทิ้งจากขยะอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ประโยชน์ ช่วยลดต้นทุนค่ากำจัดของเสีย และเพิ่มมูลค่าสำหรับผู้ประกอบการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์
คุณสมบัติของต้นแบบผลิตภัณฑ์
มีความแข็งแรง เหนียว ทนทาน ไม่แตกหักง่าย ลดการเสียหายระหว่างการขนส่ง
มีน้ำหนักเบา สะดวกในการติดตั้งและขนส่ง
ทำความสะอาดง่าย ทนทานต่อสารเคมีที่ใช้ทำความสะอาด
การประยุกต์ใช้งาน
ใช้เป็นวัสดุสำหรับประดับตกแต่งพื้นผิวต่างๆ ทั้งภายนอกและภายในอาคาร เช่น การปิดผิวผนัง/ปิดผิวเสา การตัดขอบหรือมุม งานจัดสวน เป็นต้น
กลุ่มลูกค้า/ ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย
ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์แผ่นหินธรรมชาติ เพื่อประดับตกแต่งพื้นผิวผนังต่างๆ ทั้งภายนอกและภายในอาคาร
เจ้าของงานโครงการอสังหาริมทรัพย์
สถาปนิกที่ดูแลงานโครงการหรือหมู่บ้านจัดสรร
กลุ่มนักลงทุนเป้าหมาย
ผู้ประกอบการธุรกิจคัดแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์หรือแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์
ผู้ผลิตสินค้าจากวัตถุดิบรีไซเคิล
สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา
อนุสิทธิบัตรเลขที่ 8341 ชื่อ องค์ประกอบของวัสดุไฟเบอร์กลาสที่มีส่วนผสมของผงเรซินใยแก้วจากซากแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (Fiber Glass material composition with reinforced fiberglass from printed circuit board waste)
สถานการณ์พัฒนาผลิตภัณฑ์
มีความพร้อมในการถ่ายทอดกระบวนการในการขึ้นรูปและเทคนิคในการให้สีผลิตภัณฑ์
ผ่านการทดสอบคุณสมบัติด้านการใช้งานต่างๆ เช่น ความทนกรดทนด่าง การต้านทานรอยเปื้อน ความสามารถในการรับแรง การเกาะยึดพื้นผิว เป็นต้น
ภาพรวมตลาด
Magic Stone สามารถเป็นนวัตกรรมที่เป็นทางเลือกของวัสดุเพื่อการตกแต่ง ความต้องการของตลาดที่ซับช้อนมากขึ้น ความต้องการที่เฉพาะเจาะจง การคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ภาพของขยะที่ล้นโลกโดยเฉพาะขยะอิเล็กทรอนิกส์ ล้วนเป็นปัจจัยสนับสนุนการหาวัสดุใหม่ๆ มาทดแทน รวมถึงการนำวัสดุกลับมาใช้อีก คุณสมบัติของ Magic Stone สามารถขึ้นรูปได้หลากหลายรูปแบบ การผลิตและติดตั้งไม่ซับซ้อน อีกทั้งความเป็น ECO Product ของ Magic Stone จะทำให้เพิ่มทางเลือกของตลาดที่ตอบสนองความต้องการทั้งในส่วนของผู้บริโภคและผู้ผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ
แผงวงจรที่เสียจากกระบวนการผลิตจะถูกส่งไปยังโรงงานซึ่งรับรีไซเคิลแผงวงจรที่ตกคุณภาพ และเหลือผง PCB เป็นของเสีย ผงดังกล่าว ดร.เปรมฤดี อธิบายว่าเป็นชั้นฉนวนที่มีส่วนประกอบเป็นพลาสติก ใยแก้ว และวัสดุกลุ่มเรซิ่น ซึ่งโดยทั่วไปจะนำไปกำจัดด้วยฝั่งกลบหรือเผา แต่นักวิจัยห้องปฏิบัติการอีโคดีไซน์มองว่าเป็นการใช้ทรัพยากรที่ไม่คุ้ม และการกำจัดยังมีต้นทุนมากถึงตันละ 10,000 บาท จึงเกิดแนวคิดเปลี่ยนขยะดังกล่าวเป็นรายได้
ก่อนหน้านี้นักวิจัยห้องปฏิบัติการอีดคดีไซน์ได้ร่วมงานกับกรมควบคุมมลพิษ เพื่อแยกทองแดงออกจากแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และพบว่าในขั้นตอนท้ายสุดมีผง PCB เหลือเป็นของเสีย อีกทั้งเมื่อทราบถึงต้นทุนในการกำจัดที่สูงและรู้สึกเสียดายทรัพยากร จึงเป็นที่มาของการนำผงดังกล่าวกลับไปใช้ประโยชน์ โดยนำไปผสมกับโพลีเอสทีลีนหรือ PE ในสัดส่วย 50:50 เพื่อผลิตเป็นแผ่นทดแทนแผ่นหินตกแต่งบ้าน ด้วยการผสมและขึ้นรูปโดยไม่ใช้ความร้อน และให้ลักษณะผิวเหมือนเนื้อทรายด้วยแม่พิมพ์ที่มีผิวขรุขระ
ดร.เปรมฤดี และน.ส.พรนลัท สิงห์รัตนพันธุ์ นักวิเคราะห์จากห้องปฏิบัติการอีโคดีไซน์ ผู้ร่วมพัฒนาแผ่นทดแทนหินธรรมชาติด้วยวัสดุเหลือทิ้งจากการรีไซเคิลแผงวงจรเผยว่าจากการทดสอบความพิษและทดสอบการรั่วไหลของทองแดงที่เหลือตกค้างประมาณ 0.5 % พบว่ามีความปลอดภัย แต่ราคายังราคาสูงกว่าแผ่นหินธรรมชาติ ทว่า กลุ่มเป้าหมายของผู้ใช้วัสดุนี้คือผู้ที่ต้องการสร้างอาคารที่ได้รับการรับรองว่าเป็น อาคารสีเขียว หรืออาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ทว่า เสียงสะท้อนจากผู้ประกอบการโรงงานรีไซเคิลแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์มายังทีมวิจัยว่า ต้องการวัสดุก่อสร้างที่มีความต้องการมาก เช่น นำไปผสมซีเมนส์เพื่อผลิตอิฐก่อสร้าง เนื่องจากทางโรงงานต้องการกำจัดของเสียออกให้ได้เร็วที่สุด โดยไม่เน้นเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือทิ้ง ซึ่ง ดร.เปรมฤดี และน.ส.พรนลัท กำลังหาแนวทางพัฒนาต่อไป
จุดเด่นของเทคโนโลยี (Innovation Statement)
เป็นสูตรที่ได้ผ่านการพัฒนาให้สามารถใช้กับกระบวนการผลิตที่ง่ายในการหล่อขึ้นรูป
สามารถทำพื้นผิวได้หลากหลายสีสัน และหลากหลายผิวสัมผัส
เป็นการนำของเหลือทิ้งจากขยะอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ประโยชน์ ช่วยลดต้นทุนค่ากำจัดของเสีย และเพิ่มมูลค่าสำหรับผู้ประกอบการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์
คุณสมบัติของต้นแบบผลิตภัณฑ์
มีความแข็งแรง เหนียว ทนทาน ไม่แตกหักง่าย ลดการเสียหายระหว่างการขนส่ง
มีน้ำหนักเบา สะดวกในการติดตั้งและขนส่ง
ทำความสะอาดง่าย ทนทานต่อสารเคมีที่ใช้ทำความสะอาด
การประยุกต์ใช้งาน
ใช้เป็นวัสดุสำหรับประดับตกแต่งพื้นผิวต่างๆ ทั้งภายนอกและภายในอาคาร เช่น การปิดผิวผนัง/ปิดผิวเสา การตัดขอบหรือมุม งานจัดสวน เป็นต้น
กลุ่มลูกค้า/ ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย
ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์แผ่นหินธรรมชาติ เพื่อประดับตกแต่งพื้นผิวผนังต่างๆ ทั้งภายนอกและภายในอาคาร
เจ้าของงานโครงการอสังหาริมทรัพย์
สถาปนิกที่ดูแลงานโครงการหรือหมู่บ้านจัดสรร
กลุ่มนักลงทุนเป้าหมาย
ผู้ประกอบการธุรกิจคัดแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์หรือแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์
ผู้ผลิตสินค้าจากวัตถุดิบรีไซเคิล
สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา
อนุสิทธิบัตรเลขที่ 8341 ชื่อ องค์ประกอบของวัสดุไฟเบอร์กลาสที่มีส่วนผสมของผงเรซินใยแก้วจากซากแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (Fiber Glass material composition with reinforced fiberglass from printed circuit board waste)
สถานการณ์พัฒนาผลิตภัณฑ์
มีความพร้อมในการถ่ายทอดกระบวนการในการขึ้นรูปและเทคนิคในการให้สีผลิตภัณฑ์
ผ่านการทดสอบคุณสมบัติด้านการใช้งานต่างๆ เช่น ความทนกรดทนด่าง การต้านทานรอยเปื้อน ความสามารถในการรับแรง การเกาะยึดพื้นผิว เป็นต้น
ภาพรวมตลาด
Magic Stone สามารถเป็นนวัตกรรมที่เป็นทางเลือกของวัสดุเพื่อการตกแต่ง ความต้องการของตลาดที่ซับช้อนมากขึ้น ความต้องการที่เฉพาะเจาะจง การคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ภาพของขยะที่ล้นโลกโดยเฉพาะขยะอิเล็กทรอนิกส์ ล้วนเป็นปัจจัยสนับสนุนการหาวัสดุใหม่ๆ มาทดแทน รวมถึงการนำวัสดุกลับมาใช้อีก คุณสมบัติของ Magic Stone สามารถขึ้นรูปได้หลากหลายรูปแบบ การผลิตและติดตั้งไม่ซับซ้อน อีกทั้งความเป็น ECO Product ของ Magic Stone จะทำให้เพิ่มทางเลือกของตลาดที่ตอบสนองความต้องการทั้งในส่วนของผู้บริโภคและผู้ผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ
บันทึกโดย
