เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
ชื่อ
ฟิล์มเจาะรูในระดับไมครอนเพื่อเป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตผลสด
ชม 905 ครั้ง
67
เจ้าของ
ดร.วรรณี ฉินศิริกุล ชาริณี วิโนทพรรษ์ และคณะวิจัย
เมล์
ipbiz@tmc.nstda.or.th
รายละเอียด
จุดเด่นของเทคโนโลยี:
ฟิล์มมีความใส และความแข็งแรงสูง
สามารถใช้งานกับผลิตผลสดได้หลายชนิด โดย เฉพาะผลิตผลตัดแต่ง หรือผลิตผลชนิดขายปลีกมูลค่าสูง (high-value retail pack)
ยืดอายุได้ 2-5 เท่า
ต้นทุนลดลง 3-4 เท่า
ผักและผลไม้สดเป็นผลิตผลทางการเกษตรของประเทศที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัญหาสำคัญของอุตสาหกรรมผักและผลไม้สดในเขตร้อนอย่างประเทศไทยคือ หลังจากการเก็บเกี่ยวผลิตผลมีอายุสั้น มักสูญเสียระหว่างการขนส่งและจำหน่ายเป็นจำนวนมาก โดยสาเหตุสำคัญของปัญหาการสูญเสียคือ การขาดการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม และขาดความรู้หรือการใช้เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพเพื่อยืดอายุของผลิตผลและรักษาคุณภาพให้คงเดิม ปัจจุบันฟิล์มพลาสติกส่วนใหญ่ที่ผลิตและจำหน่ายทั่วไปในประเทศมีสมบัติสกัดกั้นการแพร่ผ่านของก๊าซ จึงไม่เหมาะสมต่อการนำมาใช้เป็นบรรจุภัณฑ์เก็บรักษาผักและผลไม้ ดังนั้นผู้ประกอบธุรกิจส่งออกผักและผลไม้ จึงจำเป็นต้องนำเข้าฟิล์มพลาสติกจากต่างประเทศ ซึ่งมีราคาที่สูงและไม่เหมาะสมต่อการยืดอายุผลิตผลสดเขตร้อนของไทย
ด้วยเหตุผลดังกล่าวคณะวิจัยของศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ จึงพัฒนาฟิล์มพลาสติกเจาะรูขนาดไมครอน (Micro-perforated films) และร่วมทดสอบการบรรจุผลิตผลสดชนิดต่างๆ กับคณะวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การพัฒนาฟิล์มให้มีรูเจาะขนาดเล็กระดับไมครอนเป็นเทคนิคใหม่ที่พัฒนาขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย โดยฟิล์มเจาะรูขนาดไมครอนนี้ มีสมบัติยอมให้ก๊าซและไอน้ำผ่านได้สูงกว่าฟิล์มทั่วไป เพื่อยืดอายุและรักษาคุณภาพของผลิตผลสดได้นาน 2-5 เท่า โดยเฉพาะผลิตผลสดตัดแต่งหรือชนิดขายปลีกมูลค่าสูง (high-value retail package) ประกอบกับการสร้างสมดุลระหว่างสมบัติทางกายภาพที่สำคัญ เช่น ความใส และสมบัติทางกลของฟิล์ม เพื่อให้ฟิล์มมีสมบัติที่สอดคล้องกับหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์และความต้องการของผลิตผลสดที่ต้องการบรรจุ
เทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่พัฒนานี้ จัดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่จะช่วยเสริมประโยชน์การใช้งานของฟิล์มพลาสติกที่ผลิตในอุตสาหกรรมไทยในปัจจุบัน ช่วยทดแทนการนำเข้าฟิล์มยืดอายุผลิตผลสดราคาแพง โดยมีต้นทุนลดลงอย่างน้อย 3-4 เท่า
สนใจสอบถามข้อมูล ติดต่อได้ที่:
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
โทร 0-2564-7000 ต่อ 1616 - 1619
อีเมล: ipbiz@tmc.nstda.or.th
ฟิล์มมีความใส และความแข็งแรงสูง
สามารถใช้งานกับผลิตผลสดได้หลายชนิด โดย เฉพาะผลิตผลตัดแต่ง หรือผลิตผลชนิดขายปลีกมูลค่าสูง (high-value retail pack)
ยืดอายุได้ 2-5 เท่า
ต้นทุนลดลง 3-4 เท่า
ผักและผลไม้สดเป็นผลิตผลทางการเกษตรของประเทศที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัญหาสำคัญของอุตสาหกรรมผักและผลไม้สดในเขตร้อนอย่างประเทศไทยคือ หลังจากการเก็บเกี่ยวผลิตผลมีอายุสั้น มักสูญเสียระหว่างการขนส่งและจำหน่ายเป็นจำนวนมาก โดยสาเหตุสำคัญของปัญหาการสูญเสียคือ การขาดการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม และขาดความรู้หรือการใช้เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพเพื่อยืดอายุของผลิตผลและรักษาคุณภาพให้คงเดิม ปัจจุบันฟิล์มพลาสติกส่วนใหญ่ที่ผลิตและจำหน่ายทั่วไปในประเทศมีสมบัติสกัดกั้นการแพร่ผ่านของก๊าซ จึงไม่เหมาะสมต่อการนำมาใช้เป็นบรรจุภัณฑ์เก็บรักษาผักและผลไม้ ดังนั้นผู้ประกอบธุรกิจส่งออกผักและผลไม้ จึงจำเป็นต้องนำเข้าฟิล์มพลาสติกจากต่างประเทศ ซึ่งมีราคาที่สูงและไม่เหมาะสมต่อการยืดอายุผลิตผลสดเขตร้อนของไทย
ด้วยเหตุผลดังกล่าวคณะวิจัยของศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ จึงพัฒนาฟิล์มพลาสติกเจาะรูขนาดไมครอน (Micro-perforated films) และร่วมทดสอบการบรรจุผลิตผลสดชนิดต่างๆ กับคณะวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การพัฒนาฟิล์มให้มีรูเจาะขนาดเล็กระดับไมครอนเป็นเทคนิคใหม่ที่พัฒนาขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย โดยฟิล์มเจาะรูขนาดไมครอนนี้ มีสมบัติยอมให้ก๊าซและไอน้ำผ่านได้สูงกว่าฟิล์มทั่วไป เพื่อยืดอายุและรักษาคุณภาพของผลิตผลสดได้นาน 2-5 เท่า โดยเฉพาะผลิตผลสดตัดแต่งหรือชนิดขายปลีกมูลค่าสูง (high-value retail package) ประกอบกับการสร้างสมดุลระหว่างสมบัติทางกายภาพที่สำคัญ เช่น ความใส และสมบัติทางกลของฟิล์ม เพื่อให้ฟิล์มมีสมบัติที่สอดคล้องกับหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์และความต้องการของผลิตผลสดที่ต้องการบรรจุ
เทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่พัฒนานี้ จัดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่จะช่วยเสริมประโยชน์การใช้งานของฟิล์มพลาสติกที่ผลิตในอุตสาหกรรมไทยในปัจจุบัน ช่วยทดแทนการนำเข้าฟิล์มยืดอายุผลิตผลสดราคาแพง โดยมีต้นทุนลดลงอย่างน้อย 3-4 เท่า
สนใจสอบถามข้อมูล ติดต่อได้ที่:
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
โทร 0-2564-7000 ต่อ 1616 - 1619
อีเมล: ipbiz@tmc.nstda.or.th
บันทึกโดย
