เครือข่ายส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม กปว.#
  • บริการของ กปว.
    • โครงการ
    • เทคโนโลยี
    • ผู้เชี่ยวชาญ
    • คำปรึกษา/ลูกค้า
    • ผลิตภัณฑ์
    • แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • หน้าหลัก
  • Tuesday, July 1, 2025 เวลา :

เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด

รหัส
1157
ชื่อ
การปลูกข้าวโพดเทียน ชม 13,309 ครั้ง
เจ้าของ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์วสุ สันติมิตร
เมล์
vasu_rits@hotmail.com
รายละเอียด

ข้าวโพดเทียน(Waxy Corn) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zea mays ceratina เป็นข้าวโพดรับประทานฝักสดสามารถเจริญเติบโต ได้ในทุกภาคของประเทศไทย มีอายุเก็บเกี่ยวสั้นประมาณ 54-60 วัน

ข้าวโพดเทียนบ้านเกาะมีคุณสมบัติพิเศษแตกต่างจากข้าวโพดเทียนอื่นๆ ข้าวโพดเทียนบ้านเกาะเป็นข้าวโพดฝักสดมีรสชาติดีมีลักษณะเฉพาะของเมล็ดที่เหนียวนุ่มหวานมันผสมผสานกันพอดี มีจำนวนแถวของเมล็ดบนฝัก 8 แถว ฝักมีขนาดเล็กสีเหลืองยาวตรงคล้ายลำเทียน เส้นผ่าศูนย์กลางฝักประมาณ 2.5-3.0 เซนติเมตร ความยาวฝักประมาณ 10-15 เซนติเมตร

การเลือกพื้นที่และการเตรียมพื้นที่ปลูก ควรเป็นที่ราบไม่มีน้ำท่วมขัง มีปริมาณน้ำเพียงพอสำหรับการเจริญเติบโตตลอดฤดูปลูก ลักษณะดินเป็นดินร่วน หรือร่วนเหนียวปนทราย หรือดินร่วนปนทราย มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง ปานกลาง (pH ประมาณ 5.5-7.5) มีการระบายน้ำได้ดี ถ้าเป็นที่ลุ่มควรยกร่องระบายน้ำ

การเตรียมดินหรือการเตรียมพื้นที่ปลูก การเตรียมดินมีวัตถุประสงค์ เพื่อกำจัดวัชพืช ทำดินร่วนซุย การเตรียมดินครั้งแรกควรเริ่มทันทีหลังจากเก็บเกี่ยวพืชแล้ว โดยการไถกลบไม่ควรเตรียมดินในขณะที่ดินเปียกเกินไป จะทำให้ดินเกิดการอัดตัว การเตรียมดินเริ่มจากการไถดะ 1 ครั้ง โดยไถสามจานไถลึก 20-30 เซนติเมตร ตากดินให้แห้งประมาณ 3-5 วัน แล้วไถพรวนย่อยดินให้แตกละเอียดไม่เป็นก้อนใหญ่ด้วยไถเจ็ดจาน 1 ครั้ง จากนั้นจึงไถแปรปรับหน้าดินให้สม่ำเสมอ กรณีที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ควรหว่านปุ๋ยคอก เช่นปุ๋ยขี้ไก่ อัตราประมาณ 1 ตันต่อไร่ก่อนการไถแปร

การเตรียมเมล็ดพันธุ์
ก่อนปลูกควรทดสอบความงอกของเมล็ดพันธุ์ก่อน ถ้าเปอร์เซนต์ความงอกต่ำ ควรหยอดเมล็ดเผื่อไว้ให้เพียงพอ ควรคลุกเมล็ดก่อนปลูกด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา "ฟอรัม"(ไดเมทโธมิร์ฟ)ในอัตรา 10 กรัมต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม

วิธีการปลูก
การปลูกข้าวโพดเทียนควรปลูกเป็นแถว ระยะระหว่างแถวประมาณ 50-75 เซนติเมตร ระยะระหว่างหลุมประมาณ 20-25 เซนติเมตร หยอดเมล็ดลงไปในหลุมลึกประมาณ 5 เซนติเมตร จำนวน 1-2 เมล็ดเพื่อกันเมล็ดไม่งอกเมื่องอกแล้วควรถอนให้เหลือหลุมละต้น

การให้น้ำการให้น้ำ
ทำได้หลายวิธี การให้น้ำแบบหยด การให้น้ำแบบสปิงเกอร์ การให้น้ำในร่องปลูก

การใส่ปุ๋ย
ใส่ปุ๋ยรองพื้น ใส่พร้อมปลูกหรือใส่ขณะเตรียมดิน สูตรปุ๋ยที่แนะนำคือ 15-15-15หรือ 25-7-7 หรือ 16-16-8 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่
การใส่ปุ๋ยครั้งแรก เมื่อต้นข้าวโพดมีอายุหลังปลูก 15-17 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 16-20-0 หรือ 16-8-8 ,46-0-0 , 15-15-15 อัตรา 25-30 กิโลกรัมต่อไร่ และปุ๋ยอินทรีย์โดยการเดินโรยปุ๋ยไปตามร่อง หรือเดินหยอดทีละหลุม
การใส่ปุ๋ยครั้งที่สอง คือ ช่วงที่ต้นมีอายุ 25-30 วันถ้าต้นข้าวโพดแสดงอาการเหลืองหรือไม่สมบูรณ์ให้ใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ โรยข้างต้น
การกำจัดวัชพืช
ต้องทำทันทีหลังปลูกขณะที่วัชพืชเริ่มงอกใหม่ การกำจัดวัชพืชควรทำอย่างน้อยหนึ่งครั้งเมื่อต้นข้าวโพดอายุได้ 15-17 วัน โดยวิธีการใช้จอบพรวนพูนโคนต้น
การเก็บเกี่ยว
เพื่อการบริโภคและจำหน่ายสำหรับการบริโภคฝักสด ทำการเก็บเกี่ยวเมื่อฝักแก่พอเหมาะ สำหรับการบริโภคฝักสดมีอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 54-60วัน หลังปลูก
วิธีการถ่ายทอด
การถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกข้าวโพดเทียนบ้านเกาะ ปฏิบัติการจาก สถานการณ์ เชิงพื้นที่
-ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับข้าวโพดเทียนบ้านเกาะ
-การเรียนรู้จากการปลูกข้าวโพดเทียนบ้านเกาะ
-การเตรียมเมล็ดพันธุ์และการเตรียมดินปลูกข้าวโพดเทียนบ้านเกาะ
-การปลูกข้าวโพดเทียนบ้านเกาะ
-เทคโนโลยีการจัดการหลังการปลูก
-เทคโนโลยีการจัดการเก็บเกี่ยว
-การแปรรูป และการจัดการข้าวโพดเทียนบ้านเกาะ
-การจัดทำแผนการปลูกข้าวโพดเทียนบ้านเกาะ
สถานที่ติดต่อ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ 60 หมู่ที่ 3 ถนนสายเอเซีย ตำบลหันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13000 โทรศัพท์.035-709103 โทรศัพท์มือถือ 086-3075459

ขยายภาพ ขยายภาพ ขยายภาพ ขยายภาพ ขยายภาพ
คำสำคัญ
ข้าวโพด  
บันทึกโดย
นายบำรุง  ฉิมชนะ  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์หันตรา

รายละเอียดผู้รับบริการ

43017
ผู้ถาม : ปรัชญา ไวทยะโกมล ที่อยู่ 2/1 ซ.ปุณณวิถี 12 ถ.สุขุมวิท แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพ 10260
วันที่ถาม : 12/12/2561
คำถาม : ต้องการสอบถามเรื่อง ขอซื้อกล้าเชื้อรา Aspergillus oryzae สำหรับทำโคจิเพื่อนำไปหมักถั่วเหลือง
คำตอบ :

สวัสดีค่ะคุณปรัชญา ในเบื้องต้นดิฉันขอแนะนำให้ติดต่อกับ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
งานตรวจวิเคราะห์ทางด้านจุลชีววิทยา (ด้านรา โทร.0-2577-9028) หรือ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถโทรสอบถามได้ที่ 1313 หรือ 02-333-3917 (Call Center กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) นะคะ ขอบคุณค่ะ 


การดำเนินงานจากเครือข่าย




สงวนลิขสิทธิ์ © 2568 กลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม(ธท.) กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(กปว.)
มีปัญหาแจ้งได้ที่ ekapong at mhesi.go.th